เมนู

มีรูปนั้นเป็นอารมณ์ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้. บทว่า ยํ อนุมิยฺยติ ความว่า รูปใด
ตายไปตามความครุ่นคิดใด. บทว่า เตน สุงฺขํ คจฺฉติ ความว่า ด้วย
ความครุ่นคิดนั้น บุคคลย่อมถึงการนับว่า รัก โกรธ หลง อีกอย่างหนึ่ง
คำว่า ยํ เป็นตติยาวิภัตติ ความว่า บุคคลย่อมถึงการนับว่า รัก โกรธ
หลง ด้วยความครุ่นคิดถึงรูปที่ตายไปนั้น.
จบ อรรถกถาภิกขุสูตรที่ 2

5. อานันทสูตรที่ 1



ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ 5



[79] กรุงสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ออกจาก
ที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้า
ภิกษุทั้งหลายพึงถามเธออย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรม
เหล่าไหนย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่าไหนย่อมปรากฏ
ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมเหล่าไหนที่ตั้งอยู่แล้วย่อมปรากฏ ดังนี้ไซร้
เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฯลฯ
ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย
ความบังเกิดขึ้นแห่งรูปแลย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งรูปย่อมปรากฏ
ความเป็นอย่างอื่นแห่งรูปที่ตั้งอยู่แล้วย่อมปรากฏ ความบังเกิดขึ้นแห่ง
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณย่อมปรากฏ ความเสื่อม
แห่งวิญญาณย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งวิญญาณที่ตั้งอยู่แล้ว
ย่อมปรากฏ

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้แลย่อมปรากฏ
ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่านี้แลย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่ง
ธรรมที่ตั้งอยู่แล้วย่อมปรากฏ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถาม
อย่างนี้แล้วพึงพยากรณ์อย่างนี้แล.
[80] พ. ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ ความบังเกิดขึ้นแห่งรูปแล
ย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งรูปแลย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่ง
รูปที่ตั้งอยู่แล้วย่อมปรากฏ ความบังเกิดขึ้นแห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งวิญญาณย่อม
ปรากฏ ความเป็นไปอย่างอื่นแห่งวิญญาณที่ตั้งอยู่แล้วย่อมปรากฏ
ดูก่อนอานนท์ ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้แลย่อมปรากฏ
ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่านี้แลย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่ง
ธรรมเหล่านี้ที่ตั้งอยู่แล้วย่อมปรากฏ ดูก่อนอานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้
แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้.
จบ อานันทสูตรที่ 1

อรรถกถาอานันทสูตรที่ 1



ในอานันทสูตรที่ 1 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ ความว่า เมื่อรูปยังดำรงอยู่
คือเป็นอยู่ ชราย่อมปรากฏ. ก็คำว่า ฐิติ เป็นชื่อของการหล่อเลี้ยง
กล่าวคือ ชีวิตินทรีย์. คำว่า อญฺญถตฺตํ เป็นชื่อของชรา. ด้วยเหตุนั้น
โบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
อุปฺปาโท ชาติ อกฺขาโต ภงฺโค วุตฺโต วโยติ จ
อญฺญถตฺตํ ชรา วุตฺตา ฐิติ จ อนุปาลนา.